วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเรียกชื่อและเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก

1. สารประกอบไอออนิก (Ionic Compounds)
   สารประกอบไอออนิกทุกชนิดประกอบด้วยโลหะ(metal) และอโลหะ (nonmetal) เช่น NaCl (ยกเว้น เกลือแอมโมเนียม เช่น NH4Cl)  ซึ่งในการอ่านชื่อสารประกอบ
ไอออนิกนั้นจะต้องอ่านชื่อของไอออนบวก (cation) ก่อนแล้วตามด้วยไอออนลบ (anion) เช่น
                        Potassium   Sulfate
                     ชื่อไอออนบวก  ชื่อไอออนลบ
                     (cation name)(anion name)     
      ก่อนที่จะอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกนั้น นักเรียนจำเป็นต้องสามารถเขียนและอ่านชื่อไอออนได้ไอออนที่ง่ายที่สุดคือ อะตอมเดี่ยว (monatomic) ซึ่ง ไอออนอะตอมเดี่ยว (monatomic ion)เป็นไอออนที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว (single atom) ในตารางที่ 2.1 เป็นรายการของไอออนเดี่ยวธรรมดาของธาตุในหมู่หลัก (main-group elements) ซึ่งมีกฎในการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยวดังนี้

2. กฎในการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยว
     กฎการอธิบายเกี่ยวกับประจุของไอออนเดี่ยว ดังนี้
     2.1  ธาตุโลหะที่อยู่ในหมู่หลัก (main-group) เกือบทั้งหมด เป็นไอออนเดี่ยวที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเท่ากับเลขหมู่ของตารางธาตุ เช่น อลูมิเนียม อยู่ในหมู่ IIIA 
ซึ่งเป็นอะตอมเดี่ยว Al3+

2.2  ธาตุโลหะบางชนิดที่มีเลขอะตอมมาก ๆ  ยกเว้นที่กล่าวถึงในกฎของที่ 1  ธาตุเหล่านี้จะให้ไอออนธรรมดาที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเท่ากับเลขของกลุ่ม
ลบด้วยสอง นอกจากนี้ยังมีไอออนบวกที่มีประจุไฟฟ้าเท่ากับเลขที่หมู่อีกด้วย เช่น ไอออนธรรมดา (common cations) ของตะกั่วคือ Pb2+(เลขที่ของหมู่คือ 4 ประจุไฟฟ้าจึงเท่ากับ 4-2) นอกจากนี้ในสารประกอบบางชนิดประกอบด้วย Pb2+บางชนิดประกอบด้วย Pb4+

ตารางที่ 2.1  ไอออนเดี่ยวธรรมดาของธาตุหมู่หลัก




ที่มา  :  Ebbing and Gammon (1999 : 65)

2.3  ธาตุแทรนซิชันเกือบทุกชนิดเกิดเป็นไอออนบวกได้มากกว่า 1 ชนิด  แต่ละชนิดจะมีประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน  และเกือบทุกธาตุมีจะมี  1 ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็น +2  เช่น เหล็กมีไอออนธรรมดา เป็น Fe2+ และ Fe3+  ทองแดงก็มีไอออนธรรมดา เป็น Cu+ และ Cu2+
     2.4 ไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบของธาตุอโลหะในหมู่หลัก จะเท่ากับเลขหมู่ลบด้วย 8  เช่น ออกซิเจนมีไอออนเดี่ยว เป็น O2- (เลขที่หมู่คือ 6 ดังนั้นประจุของไอออนจึงเป็น 6-8)      
        นอกจากนี้ สูตรของไอออนเดี่ยว  เขียนได้โดย เขียนสัญลักษณ์ของธาตุนั้น แล้วเขียนประจุไฟฟ้าไว้ทางมุมขวาบนของสัญลักษณ์  โดยตัวเลขที่บอกขนาดให้เขียนไว้ข้างหน้าของประจุ + หรือ  โดยถ้าประจุไอออนเป็น +1 หรือ -1  ก็ให้ละไว้
ไม่ต้องเขียนเลข 1

3. กฎสำหรับการอ่านชื่อไอออนเดี่ยว
     กฎสำหรับการอ่านชื่อไอออนเดี่ยวไว้ดังนี้
     3.1 ชื่อของไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก (cations) จะเรียกตามชื่อของธาตุ  ถ้ามีเพียงไอออนเดียว เช่น Al3+ จะเรียกว่า อะลูมิเนียมไอออน (aluminium ion) , Na+ จะเรียกว่า โซเดียมไอออน (sodium ion)
     3.2 ถ้าไอออนบวกของธาตุใด มีประจุมากกว่า 1 ชนิด ให้ระบุไอออนนั้นด้วย   เลขโรมัน ตามประจุของไอออนนั้น เช่น Fe2+  เรียกว่าไอร์ออน (II) ไอออน และ Fe3+ เรียกว่า ไอร์ออน (III)ไอออน
กรณีที่ชื่อธาตุนั้นมาจากภาษลาติน  ตามระบบของการเรียกชื่อ (nomenclature) แล้วจะต้องเติมคำว่า “-อัส” (-ous) และ “-อิก” (-ic) ต่อท้ายในชื่อหลัก เพื่อระบุให้ทราบว่าไอออนนั้นมี ประจุต่ำกว่า (lowercharge) และ มีประจุสูงกว่า (higher charge) ตามลำดับ เช่น Fe2+ จะเรียกว่า เฟอร์รัสไอออน (ferrous ion) ; Fe3+ จะเรียกว่า เฟอร์ริกไอออน(ferric ion)   Cu+ จะเรียกว่า คิวปรัสไอออน (cuprous ion) ;  และ Cu2+ จะเรียกว่า คิวปริกไอออน (cupric ion)
     ตารางที่ 2.2 เป็นรายการของไอออนบวกธรรมดา ของธาตุแทรนซิชันบางธาตุ
ซึ่งเกือบทั้งหมดของธาตุเหล่านี้จะมีไอออนมากกว่า 1 ชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการระบุชนิดของประจุด้วยเลขโรมัน  มีเพียงไม่กี่ธาตุที่มีไอออนชนิดเดียว เช่น สังกะสี
มีไอออนชนิดเดียว ดังนั้นจึงเขียนตามชื่อของโลหะตามปกติซึ่งไม่ผิด แต่อย่างไรก็ตามเวลาอ่านชื่อของ Zn2+ ก็ให้อ่านเป็น ซิงค์ (II) ไอออน
     3.3 ชื่อของไอออนเดี่ยว ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (anions) จะอ่านตามชื่อหลักของธาตุ แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “-ไอด์” (-ide) เช่น Br- จะอ่านว่า โบรไมด์ไอออน (bromide ion) ซึ่งเกิดจากชื่อหลัก คือโบรม- (brom-) สำหรับ โบรมีน (bromine) และต่อท้ายด้วยคำว่า –ไอด์

ตารางที่ 2.2 แสดงรายการของไอออนบวกธรรมดา ของธาตุแทรนซิชันบางธาตุ
ที่มา  :  Ebbing and Gammon (1999 : 66)

4. ไอออนที่มีหลายอะตอม (polyatomic ion)         คือ ไอออนที่มีสองอะตอมหรือมากกว่าสองอะตอมเกิดพันธะเคมีกัน แล้วมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น  ในตารางที่ 2.3
เป็นรายการของไอออนที่มีหลายอะตอม  สำหรับสองรายการแรกนั้นเป็นไอออนบวก (Hg2+ และ NH4+) นอกนั้นเป็นไอออนลบ สำหรับการเขียนสูตรของไอออนเหล่านี้ค่อนข้างจะซับซ้อน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
     4.1  ไอออนเกือบทั้งหมดในตารางที่ 2.3  เป็นพวก ออกโซแอนไอออน (oxoanions) หรือบางทีก็เรียกว่า ออกซีแอนไอออน(oxyanions) ซึ่งมีออกซิเจนต่ออยู่กับอีกธาตุหนึ่ง  (เราเรียกอะตอมที่ออกซิเจนมาต่อด้วยนี้ว่าอะตอมกลาง) เช่น กำมะถัน (Sulfur) เกิดเป็นสารพวกออกโซแอนไอออนที่มีชื่อว่าซัลเฟต ไอออน (sulfate ion, SO42-)  และซัลไฟต์ไอออน (sulfite ion, SO32-)
ตารางที่ 2.3  แสดงรายการของไอออนที่มีหลายอะตอมบางชนิด
ที่มา  :  Ebbing and Gammon (1999 : 67)
4.2 การอ่านชื่อของ ออกโซแอนไอออน ตามคุณลักษณะของธาตุ และต่อท้ายด้วยคำว่า “-เอต” (-ate) หรือ “-ไอต์” (-ite) นี้  ข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ คำที่นำมาต่อท้ายนี้จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนอะตอมของออกซิเจนในออกโซแอนไอออน  กล่าวคือ ชื่อของออกโซแอนไอออนที่มีจำนวนอะตอมของออกซิเจนมากกว่า จะต่อท้ายด้วยคำว่า –เอต  และชื่อของ ออกโซแอนไอออนที่มีจำนวนอะตอมของออกซิเจนน้อยกว่าจะต่อท้ายด้วยคำว่า –ไอต์ เช่น SO32- จะอ่านว่า ซัลไฟต์ไอออน และ SO42-  จะอ่านว่า ซัลเฟตไอออน และตัวอย่างอื่น ๆ เป็น ออกโซแอนไอออน
ของไนโตรเจนในตาราง 2.3

        NO2-  อ่านว่า  nitrite  ion    ในขณะที่   NO3- อ่านว่า   nitrate  ion

     โชคไม่ดีที่คำต่อท้ายไม่ได้บอกจำนวนอะตอมที่แท้จริงของออกซิเจนในออกโซแอนไอออน แต่จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนออกซิเจนเท่านั้น  อย่างไรก็ตามถ้ากำหนดสูตรของไอออนลบมาให้สองสูตรก็สามารถบอกชื่อของไอออนลบนั้นได้
     4.3 ในบางกรณี คำว่า –ไอต์ และ –เอต ไม่เพียงพอในการบอกคุณลักษณะของธาตุ เช่น ออกโซแอนไอออนของคลอรีน ในตาราง 2.3 ได้แก่ ClO-, ClO2- , ClO3- , and ClO4-  ในกรณีนี้ จะเติมคำเข้าไปหน้าชื่อหลัก (prefixes) เช่น hypo- (ไฮโป-) และ per- (เปอร์-) ถูกใส่เข้าไปเพื่อช่วยขยายความหมายของออกโซแอนไอออน
สองตัวที่มีออกซิเจนแตกต่างกัน ให้ชัดเจนมากขึ้น และสำหรับออกโซแอนไอออน สองตัวที่มีจำนวนออกซิเจนน้อยที่สุดคือ ClO- and ClO2- ชื่อของทั้งสองไอออนจะมีคำว่า –ไอต์(-ite) ต่อท้ายโดยไอออนที่มีออกซิเจนน้อยกว่าจะใส่คำว่า  ไฮโป (hypo-) เข้าไปข้างหน้าด้วย ดังนี้
ClO-   hypochlorite  ion
ClO2- chlorite  ion

     ส่วนออกโซแอนไอออนสองตัวที่มีออกซิเจนมากที่สุด (ClO3- , and ClO4- ) ชื่อของสองไอออนนี้จะใส่คำว่า –เอต (-ate) ต่อท้ายชื่อหลักเหมือนกัน  และจะมีคำว่า เปอร์- (per-) เติมเข้าไปข้างหน้าสำหรับไอออนที่จำนวนออกซิเจนมากกว่า ดังนี้

                        ClO3- chlorate ion
                        ClO4- perchlorate ion

     4.4  ไอออนที่มีหลายอะตอม บางไอออน ในตาราง 2.3 เป็น ออกโซแอนไอออน
ที่มีการเกิดพันธะกับไฮโดรเจนไอออน (H+) หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่ง ไอออน ซึ่งบางครั้งออกโซแอนไอออนเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็นกรดที่มีไอออนลบ (acid anions) เพราะ
กรดคือสารที่ให้ H+ เช่น โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต ไอออน (monohydrogen phosphate ion ; HPO42-) จะมี ฟอสเฟตไอออน (PO43-) เกิดพันธะกับ ไฮโดรเจนไอออน (H+) คำว่า โมโน- (mono-) มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า“หนึ่ง”(one)
กรณีคล้าย ๆ  ได- (di-) ก็มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า “สอง” (two) ดังนั้น
ไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน ก็คือ มีฟอสเฟตไอออน เกิดพันธะกับไฮโดรเจนไอออน
2 ไอออน อย่างไรก็ตามมีบางไอออนยังใช้วิธีเรียกแบบเดิม เช่น ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (hydrogen carbonate ions) และ ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน (hydrogen
sulfate ions) จะเรียกว่าไบคาร์บอเนต (bicarbonate) และไบซัลเฟต (bisulfate) ตามลำดับ
4.5 ไอออนลบกลุ่มสุดท้าย ในตาราง 2.3 คือ ไธโอซัลเฟตไอออน (S2O32-) คำว่า
ไธโอ- (thio-) มีความหมายว่า ออกซิเจนใน (SO42-) ถูกแทนที่ด้วยอะตอมของกำมะถัน

5.  การอ่านชื่อของสารประกอบไอออนิก
     เมื่อโลหะเช่น โซเดียม รวมกับอโลหะ เช่น คลอรีน จะมีสารประกอบเกิดขึ้น
ซึ่งเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยไอออน  โดยโลหะจะเสียหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอน กลายเป็นไอออนบวก และอโลหะจะรับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนลบ ทำให้ได้สารที่เรียกว่าสารประกอบไอออนคู่ (binary ionic compound) สารประกอบไอออนคู่จะประกอบด้วยไอออนบวก (cation) ซึ่งปกติแล้วจะเขียนไว้หน้าสูตร แล้วตามด้วยไอออนลบ (anion) ดังนั้นชื่อของสารประกอบจึงเรียกตามชื่อของไอออนและถ้าใช้ไอออนบวกของโลหะเป็นเกณฑ์แล้ว สามารถแบ่งสารประกอบไอออนคู่ ได้สองชนิดคือ 1) เป็นสารประกอบที่มีโลหะเกิดเป็นไอออนบวกเพียงชนิดเดียว 2) เป็นสารประกอบที่มีโลหะเกิดเป็นไอออนบวกสองหรือมากกว่าสองชนิดที่แตกต่างกัน
     5.1 สารประกอบไอออนิกชนิดที่ 1 มีกฎการเรียกชื่อดังนี้
          5.1.1  ปกติจะเรียกชื่อของไอออนบวกก่อน แล้วตามด้วยไอออนลบ
          5.1.2  ไอออนบวก (ที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว) ถูกตั้งชื่อจากชื่อของธาตุ เช่น Na+ ถูกเรียกว่า โซเดียมในการเรียกชื่อสารประกอบที่มีไอออนนั้นเป็นองค์ประกอบ
        5.1.3  ไอออนลบ (ที่เกิดจากอะตอมเดี่ยว) ถูกตั้งชื่อโดยเรียกส่วนแรกของชื่อธาตุ แล้วเติมคำว่า  –ไอด์ (-ide) ต่อท้าย ดังนั้น Cl- จึงถูกเรียกว่า คลอไรด์
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเรียกชื่อตามกฎนี้ จะยกตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบบางชนิด เช่น NaI  มีชื่อว่า โซเดียมไอโอไดด์ (Sodium iodide) ประกอบด้วย Na+ (โซเดียมไอออน) และ I- (ไอโอไดด์ไออน) กรณีคล้าย ๆ กัน สารประกอบ CaO ถูกเรียกว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) เพราะประกอบด้วย Ca2+ (แคลเซียมไอออน) และ O2-(ออกไซด์ไอออน)
          เพื่อให้เกิดความชัดเจน เกี่ยวกับกฎการอ่านชื่อสารประกอบไอออนคู่ (binary compound)ให้พิจารณาตัวอย่างดังตารางที่ 2.4
ตารางที่ 2.4  ชื่อสารประกอบไอออนคู่บางชนิด
ที่มา :  Zumdahl (2004 : 126)
ข้อสังเกต เกี่ยวกับสูตรของสารประกอบไอออนิก ก็คือไอออนเดี่ยวถูกนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ธาตุ เช่น Cl จะหมายถึง Cl-,  Na จะหมายถึง Na+  อย่างไรก็ตามเมื่อแต่ละไอออนถูกแสดง จะมีการนำเสนอประจุของไอออนด้วย  ดังนั้นสูตรของโพแทสเซียมโบรไมด์จึงเขียนได้เป็น KBr แต่เมื่อโพแทสเซียม และโบรไมด์ไอออนแสดงแยกกันต่างหาก และเขียนเป็น K+ และ Br-       
           ตัวอย่างที่ 2.1  จงเขียนชื่อของสารประกอบชนิดอะตอมคู่ จากสูตรที่กำหนดให้ต่อไปนี้
                        a.  CsF               b.  AlCl3             c.  MgI2
           วิธีทำ  เราจะเรียกชื่อสารประกอบดังกล่าวตามระบบต่อไปนี้
                a.  CsF
                        ขั้นที่ 1  พิจารณาหาไอออนบวก และไอออนลบ  ซึ่ง Cs เป็นธาตุในหมู่ที่ 1  จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้า เป็น 1+ หรือ Cs+   และเพราะ F เป็นธาตุในหมู่ 7 จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็น 1- หรือ F- 
                        ขั้นที่ 2  การอ่านชื่อของไอออนบวก,  Cs+ จะเรียกว่า ซีเซียม ซึ่งจะเรียกเหมือนกับชื่อของธาตุซีเซียม
                        ขั้นที่ 3  การอ่านชื่อของไอออนลบ, F-  จะถูกเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นชื่อของธาตุฟลูออรีนที่มีการเติมคำว่าไอด์ (-ide) เข้าไปในตอนท้ายของชื่อธาตุ
                        ขั้นที่ 4  การอ่านชื่อของสารประกอบ ปฏิบัติโดยการรวมชื่อของแต่ละไอออนเข้าด้วยกัน ดังนั้นชื่อของ CsF จึงเป็น ซีเซียมฟลูออไรด์
(ข้อควรจำ ชื่อของไอออนบวกจะถูกอ่านก่อน)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น